วันจันทร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

การป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริต

โครงการศึกษานโยบายในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตและประพฤติมิชอบในหน่วยงานภาครัฐ

วัตถุประสงค์โครงการ

1. เพื่อศึกษาปัจจัย เงื่อนไข  ที่ทำให้เกิดจากการทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานภาครัฐ
2. เพื่อวิเคราะห์บูรณาการนโยบาย แนวทาง ตลอดจนเครื่องมือระบบและกลไกในการตรวจสอบการทุจริตของหน่วยงานภาครัฐ

วัตถุประสงค์ในการสัมมนา
เพื่อรับฟังความคิดเห็นต่อร่างนโยบายในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตและประพฤติมิชอบในหน่วยงานภาครัฐ

กรอบแนวคิดในการศึกษา
แนวทางการบูรณาการให้เกิดประสิทธิผล
1. สาเหตุปัญหาการทุจริต
2. การป้องกันแก้ไขในปัจจุบัน
3. มาตรการในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
4. นโยบาย มาตรการต่างประเทศ
- นโยบายในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตและประพฤติมิชอบ

แนวทางการวิเคราะห์คอร์รัปชั่นแบบองค์รวม
แนวทางวิเคราะห์ทางด้านกฎหมาย
1. แนวทางการวิเคราะห์เชิงระบบ(แก้ไขระเบียบสัญญา กฎหมายเพื่อตนเอง)
2. แนวทางวิเคราะห์คอร์รัปชั่นตามระบบ(ใช้บทบาทสาธารณะหรือทรัพยากรสาธารณะเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว)
3. ทฤษฎีการขัดกันแห่งผลประโยชน์(ความสัมพันธ์ การตัดสินใจและผลประโยชน์ของส่วนรวม)
4. ทฤษฎีตัวการ-ตัวแทน (ผลประโยชน์ของสาธารณะ)
5. แนวทางวิเคราะห์แบบโครงสร้าง(การแทรกแซงของรัฐต่อระบบเศรษฐกิจ)
6. แนวทางวิเคราะห์แบบเศรษฐศาสตร์การเมือง (อำนาจ ประวัติศาสตร์  และวัฒนธรรม).
7. แนวทางวิเคราะห์ของเศรษฐศาสตร์สถาบันแบบใหม่(ต้นทุนทางธุรกรรม)
8. แนวทางวิเคราะห์ของนักเศรษฐศาสตร์ (ค่าเช่าทางเศรษฐกิจ)
9. แนวทางวิเคราะห์แบบหน้าที่นิยม(กระบวนการใช้อำนาจและอิทธิพลทางการเมือง)
10.แนวทางวิเคราะห์ด้านคุณธรรม (คุณธรรมของผู้ปกครองที่ต้องทำเพื่อส่วนรวม)

สมการคอร์รัปชัน
C  =  G + O - E - R 
G  =  ความโลภ (Greed)
O  = โอกาส (Opportunities)
E  =  จริยธรรม (Ethics)
R  = ความเสี่ยงที่จะถูกลงโทษ (Risk)

สาเหตุที่ก่อให้เกิดการทุจริต
จัดแบ่งเป็น 4 กลุ่มตามสมการคอร์รัปชัน คือ

1. เกิดจากความโลภ (Greed) 
1.1 เป็นพฤติกรรมส่วนบุคคลของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ขาดหลักยึดด้านคุณธรรมจนกลายเป็นคนที่เห็นแก่ได้  มีความอยากและความไม่รู้จักเพียงพอ
1.2 การขาดปทัสฐาน (Norm) ของความเป็นบุคคลสาธารณะ ( Publice persons) ที่ต้องยึดหลักความเป็นกลาง  และความเป็นธรรมเป็นที่ตั้งซึ่งเป็นอุดมการณ์ของนักการเมืองและเจ้าหน้าที่รัฐสมัยใหม่
2. เกิดจากมีโอกาส (Opportunities) และระบบการทำงานมีช่องว่าง
2.1  การขาดความรู้ ความเข้าใจผิด หรือถูกใช้
2.2 ความเคยชิรของเจ้าหน้าที่ที่คุ้นเคยกับการที่จะได้ ค่าน้ำร้อนน้ำชา
2.3 การถูกบังคับให้รับตามบรรทัดฐานของกลุ่ม
2.4 อาศัยช่องว่างของระเบียบและตามกฎหมาย
2.5 ไม่ปฎิบัติตามกฎและระเบียบ
2.6 การทุจริตตามระบบ (Systemic) ด้านงบประมาณ  การเงินการคลังและการจัดซื้อจัดจ้าง
2.7 เกิดจากการใช้อำนาจ บารมี อิทธิพล หรือตำแหน่งหน้าที่ราชการที่มีอำนาจในการวินิจฉัย
2.8 โครงสร้างทางสังคม วัฒนธรรม  เศรษฐกิจ และการเมืองที่อ่อนแอ
2.9 โครงสร้างทางเศรษฐกิจมีการผูกขาดกลุ่มทุนขนาดใหญ่
2.10โครงสร้างทางด้านสังคมและวัฒนธรรมที่มีลักษณะเป็นแบบอุปถัมภ์ค่านิยมที่ยกย่องคนมีฐานะร่ำรวย
2.11 โครงสร้างทางการเมืองที่ต้องอาศัยเงินเป็นใหญ่  การจ่ายเงินเพื่อซื้อเสียงทำงานทางการเมือง
2.12 กระแสทุนทางการเมือง  อาทิ  โครงการเมกะโปรเจกต์ถือเป็นการคอร์รัปชันเชิงบูรณาการ  ที่ต้องใช้ทุนในการบริหารจัดการ จัดจ้างที่ปรึกษา วัสดุอุปกรณ์และเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่มีคนรอบรู้ในเรื่องเหล่านี้อยู่เพียงวงจำกัดทำให้การทุจริตประพฤติมิชอบเป็นไปได้ง่าย
2.13 ความไม่เข้มแข็งขององค์กรตรวจสอบ ปราบปรามของรัฐ
2.14 เกิดจากการเปิดเสรีภาพการค้าและการลงทุน ที่มีแข่งขันแย่งการจ่ายส่วยหรือสินบน  เพื่อให้ได้รับอนุมัติให้นำเข้า หรือได้มาซึ่งในอนุญาตต่อการได้รับสิทธิต่อโครงการต่าง ๆ
2.15 กฎหมายขาดความสมบูรณ์ในการดำเนินงาน
2.16 การบังคับใช้กฎหมายไทยยังไม่เคร่งครัด  และมีช่องโหว่ให้ผู้ใช้กฎหมายดำเนินการแบบสองมาตรฐาน  และการขาดความเชื่อมั่นต่อการเข้าร้องเรียนและฟ้องร้อง
3. เกิดจากการขาดจริยธรรม (Ethics)
3.1 การขาดคุณธรรม จริยธรรม
3.2 การขาดเจตนาจำนงที่แน่วแน่ของฝ่ายการเมืองในการแก้ไขปัญหา และภาคการเมืองขาดความมั่นคงและต่อเนื่อง
4. เกิดจากการประเมินความเสี่ยงที่จะถูกลงโทษ (Risk)
4.1 การขาดระบบตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพและเข้มแข็ง ขาดความหลากหลายในการตรวจสอบจากภาคส่วนต่าง ๆ  โดยเฉพาะภาคประชาชนรวมถึงการทำลายระบบตรวจสอบอำนาจรัฐ
4.2 ขาดการประชาสัมพันธ์ การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารให้ประชาชนทราบ
4.3 ประชาชนส่วนใหญ่มักจะเบื่อหน่าย  วางเฉย  ไม่มีปฏิกิริยาต่อพฤติกรรมการใช้อำนาจหน้าที่ที่ไม่ถูกต้อง  ทำให้ผู้ทุจริตมีแรงจูงใจและรู้เห็นว่า ผลตอบแทนที่จะได้รับเมื่อเปรียบเทียบกับความเสี่ยงนั้น  คุ้มค่า จึงแสวงหาและพัฒนาแนวทางการทุจริตที่มีรูปแบบแปลกใหม่
4.4 ประชาชนขาดความรู้ความเข้าใจขั้นพื้นฐานด้านกฎหมาย และขั้นตอนการอำนวยความยุติธรรม  รวมถึงความล่าช้าในการให้บริการและขาดความโปร่งใสของกระบวนการ  ทำให้ประชาชนรู้สึกเบื่อหน่ายและขาดความศรัทธาต่อกระบวนการยุติธรร
4.5 ประชาชนขาดแรงจูงใจในการเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรมทุกขั้นตอน
4.6 องค์กรภาคประชาชนขาดความเข้มแข็ง

แนวโน้มการทุจริตในอนาคต

1. การทุจริตในโครงการที่เป็นงบประมาณของรัฐยังเป็นศูนย์กลางของปัญหาการทุจริตทั้งปวง  เนื่องจากขนาดของงบประมาณโตขึ้นเรื่อยๆ เสริมด้วยการทุจริตข้ามชาติ
2. การทุจริตด้วยการออกนโยบายกฎหมายและแก้ไขระเบียบเพื่อเอื้อประโยชน์แก่ตนเองและพรรคพวก(Systematic corruption)
3. การทุจริตโดยอาศัยช่องโหว่ของกฎหมายระหว่างประเทศในการทำธุรกรรมทางการเงินอย่างไม่ถูกต้อง  หรือการลักลอบขนเงินที่ได้จากการกระทำทุจริตออกนอกประเทศ
4. การทุจริตในระบบการจัดเก็บภาษีที่เอื้อต่อการเกิดช่องว่างการกระจายรายได้ระหว่างคนรวยและคนจน เช่น ภาษีรายได้
5. การทุจริตที่ต่างประเทศได้ดำเนินการไปแล้ว  แต่ประเทศไทยยังไม่ได้ดำเนินการ  เช่น ภาษีมรดก ภาษีก้าวหน้าสำหรับราคาบ้านพักอาศัย
6. การทุจริตที่อาศัยความรู้ ความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ  และข้อมูลข่าวสาร  เป็นการทุจริตทั้งภายในชาติและข้ามชาติ  โดยผู้ที่กระทำการทุจริตสามารถป้อนข้อมูลเพื่อบิดเบือนข้อเท็จจริงเพื่อเอื้อประโยชน์ให้แก่ตนเองและพวกพ้อง  หรือมีการทำลายระบบข้อมูลเพื่อมิให้สามารถดำเนินการตามกฎหมายได้อย่างเต็มที่
7. การทุจริตจากการเปิดเสรีการค้าและการลงทุน ที่กำลังเกิดจากการแข่งขันแย่งจ่ายส่วยหรือสินบน เพื่อให้ได้รับอนุมัติให้นำเข้า  หรือได้มาซึ่งใบอนุญาตต่อการได้รับสิทธิต่อโครงการต่าง ๆ
8. การทุจริตในโครงการขนาดใหญ่  เช่น การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ โครงการด้านโครงสร้างพื้นฐาน ฯลฯ

รูปแบบของการทุจริตภาครัฐในสังคมไทย
แบ่งกรณีของการทุจริตออกเป็นอย่างน้อย 14 ประเภท
1. การทุจริตเชิงนโยบาย
2. การทุจริตในการบริหารราชการแผ่นดิน
3. การทุจริตต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ
4. การทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้าง
5. การทุจริตในการให้สัมปทาน
6. การทุจริตที่เกิดจากการขาดประสิทธิภาพในการดำเนินงาน
7. การมีผลประโยชน์ทับซ้อน
8. การปกปิดการบริหารงานที่ไม่ถูกต้อง  การปิดบังข้อมูลและให้การเท็จ
9. การใช้นโยบาย กฎหมาย กฎเกณฑ์ และข้อบังคับต่าง ๆ อย่างมีอคติและลำเอียง
10.การใช้ทรัพยากรของรัฐไปในทางมิชอบ  การปลอมแปลงเอกสาร  และการฉ้อฉล
11.ไม่กระทำการตามหน้าที่  แต่ใช้ลัทธิพรรคพวกแทน  เช่น การจัดฮั้วประมูล
12.การให้การและการรับสินบน  การขู่เข็ญบังคับและการให้สิ่งล่อใจ
13.การยอมรับของขวัญที่ไม่ถูกต้อง  เช่น เช็คของขวัญมูลค่าสูง
14.การทุจริตโดยการทำลายระบบตรวจสอบอำนาจรัฐ

ความเสียหายที่เกิดจากการทุจริต
ความเสียหายที่เกิดทั้งความเสียหายด้านงบประมาณ ด้านรายได้  และด้านทรัพย์สิน สรุปได้ดังนี้
1. เกิดจากความไม่ยุติธรรม
2. การทุจริตเป็นตัวขัดขวางการสร้างตลาดเสรี บิดเบือนกลไกการทำงานของตลาดประชาชนต้องบริโภคสินค้าในราคาที่แพงขึ้น
3. ความไม่มีประสิทธิภาพทำให้รัฐต้องจ่ายเงินงบประมาณเกินกว่าที่ควรจ่ายโดยไม่จำเป็นและไม่คุ้มค่า เนื่องจากได้ของคุณภาพต่ำหรือใช้ประโยชน์ได้น้อยหรือไม่ได้ใช้เลยหรือใช้ได้ในระยะสั้น
4. เกิดการสูญเปล่าในทรัพยากรของรัฐ  ไม่ได้ใช้ประโยชน์จากโครงการที่ลงทุนทำไป  ซึ่งจ่ายเงินแล้วไม่ได้รับผลตามวัตถุประสงค์ได้ผลไม่คุ้มค่า  ไม่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
5. การทุจริตเป็นเหตุของการใช้ทรัพยากรของรัฐไปเพื่อภาคที่ไม่ก่อให้เกิดผลผลิตเพื่อใช้ในการควบคุมทางสังคม
6 รัฐสูญเสียรายได้ จากการจัดเก็บรายได้ไม่ถูกต้อง ไม่ครบถ้วน  เกิดจากการรั่วไหล
7. ความเสื่อมเสียต่อหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
8. ความเสียหายต่อวัฒนธรรม และปทัสฐานของสังคม
9. เป็นเหตุแห่งความยากจน  ความไม่เท่าเทียมทางเศรษฐกิจสังคม และการกระจายรายได้ที่เลวลง
10.นักธุรกิจขาดแรงจูงใจที่จะลงทุนเนื่องจากปัญหาเงินใต้โต๊ะ  และการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม
11.การนำนโยบายของรัฐบาลไปใช้เกิดข้อจำกัด  เพราะมีการทุจริตเกิดขึ้น
12. ประชาชนขาดความไว้วางใจในรัฐบาล
13. การเมืองขาดเสถียรภาพ
14.มาตรการควบคุมคอร์รัปชันใช้ไม่ได้ผล

แนวทางในการดำเนินงาน
1. ยุทธศาสตร์ชาติ
2. นโยบาย
3. ยุทธศาสต์ ป.ป.ท.
4. กลยุทธ์
5. มาตรการ
6. แผนงาน/โครงการ

ร่างประเด็นนโยบายการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ
1. การสร้างความเข้มแข็งให้กับสำนักงาน ป.ป.ท.
2. สร้างความแข็งแรงให้กับระบบตรวจสอบระดับประเทศ
3. สร้างความเข้าใจการทุจริตคอร์รัปชันและติดตามความเคลื่อนไหว
4. เสริมสร้างจริยธรรมระดับบุคคลและระดับองค์กร
5. ส่งเสริมปัจจัยสนับสนุนการป้องกันและปราบปราม
6. เสริมสร้างความโปร่งใสขององค์กรภาครัฐและปัจเจกบุคคล
7. ส่งเสริมการบูรณาการระหว่างหน่วยงานทั้งในและต่างประเทศ
8. ส่งเสริมภาคประชาสังคมในการป้องกันและปราบปราม
9. เสริมสร้างปทัสถานที่ดีให้กับบุคคล
10.สร้างกลยุทธ์ทั้งระยะสั้นและระยะยาวในการป้องกันและปราบปราม

1. สร้างความเข้มแข็งให้กับสำนักงาน ป.ป.ท.

1. การคัดสรรบุคลากรที่มีคุณวุฒิสูง มีทักษะ  การศึกษา  ประสบการณ์  และการฝึกอบรมอย่างเหมาะสม  และมีความสามารถที่จะตัดสินใจด้วยตนเอง
2. บุคลากรมีความสามารถและมีความรับผิดชอบที่จะทำงานร่วมกับภาคประชาชน  สื่อ  นักวิชาการ  และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ ของสังคม
3. มีงบประมาณอย่างเหมาะสม  และเป็นอิสระจากอิทธิพลนอกกฎหมาย
4. มีทรัพยากร เครื่องไม้ เครื่องมือ  ที่เหมาะสมเทียบเคียงกับประเทศที่ประสบผลสำเร็จ  หรือสามารถขอความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ได้
5. ระบบการบริการงานที่มีโครงการไม่ซับซ้อน
6. นำเอากฎหมายที่ต่อต้านการคอร์รัปชันมาใช้อย่างกว้างขวาง  และบังคับใช้โดยยึดถือหลักนิติธรรมโดยมีการปฏิบัติงานที่เข้มแข็งและเป็นอิสระ
7. ต้องยึดถือหลักการเรื่องประสิทธิภาพและความโปร่งใส  และอยู่บนพื้นฐานของความมีคุณธรรม  ความเป็นวิชาชีพ
8. สามารถเข้าถึงข้อมูลที่จำเป็นได้โดยไม่มีข้อจำกัดใด ๆ ทั้งสิ้น  รวมทั้งต้องมีกลไกและเครื่องมือที่จะปกป้องบุคคลที่ให้ความร่วมมือในการต่อสู้กับการคอร์รัปชัน
9. มีช่องทางให้สาธารณชนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ตลอดเวลา  และสามารถสื่อสารกันได้อย่างเป็นอิสระ
10.สามารถดำเนินการให้เกิดความร่วมมือและประสานงานกับหน่วยงานอื่น ๆ  ที่ทำหน้าที่ในลักษณะเดียวกัน  และผู้ส่วนได้ส่วนเสียทั้งในระดับชาติ  ระดับข้ามชาติ และระดับนานาชาติ
11. มีระบบที่ปรึกษา  การติดตาม และประเมินผลการทำงานอย่างต่อเนื่อง

2. สร้างความแข็งแรงให้กับระบบตรวจสอบระดับประเภท

1. การจัดตั้งระบบพิทักษ์คุณธรรมในระดับชาติ (National Integrity  system)
2. สร้างวาระแห่งชาติในการต่อต้านคอร์รัปชัน
3. สร้างเครือข่ายการต่อต้านคอร์รัปชันระดับชาติ
4. สร้างกลยุทธ์ที่เน้นทั้งภาครัฐและเอกชน  เพราะมีความเกี่ยวเนื่องกัน
5. สร้างมาตรการป้องกัน และปัจจัยสนับสนุนต่าง ๆ เพื่อลดคดีปราบปราม
6. เฝ้าระวัง  ป้องปราม กรณีที่มีแนวโน้มการทุจริต
7. การใช้มาตรการเชือดไก่ให้ลิงดูโดยสามารถเอาผิดกับกรณีที่ส่งผลกระทบสูงได้สำเร็จ

3. สร้างความเข้าใจความทุจริตและติดตามความเคลื่อนไหว
1. มีการสำรวจสภาพการทุจริตอย่างต่อเนื่อง
2. การจัดทำการสำรวจการรับรู้ของสาธารณะ
3. การพัฒนาองค์ความรู้ด้านคอร์รัปชัน
4. การจัดสัมมนา อภิปรายเกี่ยวกับการคอร์รัปชันเป็นประจำ

4. เสริมสร้างจริยธรรมระดับบุคลากรและระดับองค์กร
1. หน่วยงานของรัฐต้องมีประมวลจริยธรรมที่สามารถปฏิบัติและวัดผลได้
2. การมีประมวลจริยธรรมและข้อบังคับเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนในคู่มือข้าราชการ
3. การฝึกอบรมข้าราชการและเจ้าหน้าที่รัฐ เพื่อปลูกฝังค่านิยมให้มีคุณธรรมสูง

5. ส่งเสริมปัจจัยสนับสนุนการป้องกันและปราบปราม
1. การบังคับใช้กฎหมายที่เคร่งครัด
2. ทบทวนระเบียบวิธีการปฎิบัติของกฎหมายและเปลี่ยนแปลงแก้ไข  เพิ่มเติมเพื่อให้แน่ใจว่าจะสามารถยับยั้งคอร์รัปชันได้จริง
- กฎหมายป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อน
- กฎหมายที่สามารถคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสได้จริง
- กฎหมายว่าด้วยระบบการตัดสินใจของภาครัฐที่โปร่งใส ลดดุลยพินิจ
- กฎหมายครอบคลุมเจ้าหน้าที่รัฐทุกประเภททุกระดับ  เอาผิดทั้งผู้ให้สินบน  ผู้สัญญาหรือผู้เสนอว่าจะให้สินบน
- กฎหมายการเอาผิดกับทั้งผู้รับรู้การทุจริตที่ไม่แจ้งความ และผู้รับสินบนแทนผู้อื่น
3. การปฏิรูประบบราชการ  ลดขั้นตอนการทำงาน  ปรับปรุงกฎหมายภาษี
4. ด้านเศรษฐกิจ ทบทวนเรื่องค่าตอบแทนของข้าราชการและนักการเมืองให้เหมาะสมกับตำแหน่งที่รับผิดชอบ  สถานภาพ  และทัดเทียมภาคเอกชน

6. เสริมสร้างความโปร่งใสขององค์กรภาครัฐและปัจเจกบุคคล
1. เปิดเผยข้อมูลทรัพย์สินของข้าราชการตามระดับที่เหมาะสม
2. การปรับเปลี่ยนระบบการจัดซื้อจัดจ้างและการเปิดเผยข้อมูลทุกขั้นตอน
3. กำหนดให้รายได้ของทุกคนในประเทศถือเป็นข้อมูลสาธารณะ
4. มาตรการการส่งเสริมการบริหารงานภาครัฐอย่างโปร่งใสและเปิดเผย
5. การทำสัญญากับรัฐที่แสดงความซื่อสัตย์

7. ส่งเสริมการบูรณาการระหว่างหน่วยงานทั้งในและต่างประเทศ
1. การสร้างเครือข่ายระหว่างหน่วยงานภาครัฐและองค์กรปกครองท้องถิ่นอย่างครอบคลุม
2. การร่วมมือกับองค์กรพัฒนาเอกชน
3. การสร้างเครือข่ายกับต่างประเทศ
4. การสร้างเครือข่ายกับภาคเอกชนและภาคประชาสังคม
5. แสวงหาความร่วมมืออย่างกว้างขวางในการต่อต้านการคอร์รัปชัน  โดยลดการเผชิญหน้าและการโต้แย้งทางการเมือง

8. การส่งเสริมภาคประชาสังคมในการป้องกันและปราบปราม
1. การส่งเสริมบทบาทและเพิ่มอำนาจให้แก่ภาคประชาชนในการต่อสู้กับคอร์รัปชัร และที่สำคัญกระตุ้นให้ประชาชนเกิดความสำนึกว่าคอร์รัปชันเกิดขึ้นได้อย่างไร
2. การปกป้องผู้ให้ข้อมูลและให้รางวัลแก่ผู้แจ้งเบาะแส โดยอาจใช้เทคโนโลยีด้วย
3. ส่งเสริมให้ประชาชนมีการตรวจสอบบัญชีหรือการทำงานของหน่วยงานภาครัฐได้
4. กฎหมายข้อมูลข่าวสาร  มีหลักว่าประชาชนต้องเข้าถึงข้อมูลข่าวสารภาครัฐได้แท้จริง
5. การเน้นเสรีภาพของสื่ออย่างต่อเนื่อง  สื่อมีอิสระในการเปิดเผยข้อมูลของทางราชการ
6. การเปิดเผยข้อมูลการดำเนินคดีของ ป.ป.ท. ทุกคดีให้สื่อมวลชน
7. สามารถเปิดเผยถึงกรณีการคอร์รัปชันที่สำคัญ  เพื่อเป็นการให้การศึกษาแก่ประชาชน
8. ส่งเสริมมาตรการการลงโทษทางสังคม (Social sanction)

9. เสริมสร้างปทัสฐานที่ดีให้กับสังคม
1. ส่งเสริมวัฒนธรรมการต่อต้านการทุจริตในหน่วยงานของภาครัญและภาคเอกชน
2. การให้คำแนะนำและการศึกษาแก่พลเมืองทุกกลุ่ม
3. ประชาสัมพันธ์ให้ชุมชน   ประชาชนตระหนักถึงความเลวร้ายของคอร์ปชัน และแสวงหาการสนับสนุนอย่างแข็งขันจากพลเมือง
4. การอบรมข้าราชการใหม่ทุกคนเรื่องการคอร์รัปชัน  ค่านิยมและจริยธรรมที่ถูกต้อง
5. การให้คำมั่นสัญญาที่ชัดเจนและพิสูจน์ให้เห็นจริงได้ของผู้นำทางการเมืองที่จะขุดรากถอนโคนคอร์รัปชันไม่ว่าจะมาจากแหล่งใดก็ตาม
6. กิจกรรมที่ต่อต้านการคอร์รัปชันจะต้องถูกนำมาแสดงให้เห็นอย่างเด่นชัด  และจะต้องมีการทบทวนระเบียบวิธีการปฏิบัติของทางราชการให้สอดคล้องกับการแก้ไขปัญหา
7. ส่งเสริมให้สังคมเห็นชอบต้องปกป้อง  ไม่ยอมรับคนโกง  มิใช่ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของผู้มีอำนาจแต่ฝ่ายเดียว

10.สร้างกลยุทธ์ทั้งระยะสั้นและระยะยาวในการป้องกันและปราบปราม
1. การกำหนดยุทธศาสตร์ที่สอดคล้องกับนโยบาย และบริบททางสังคม
2. จัดลำดับความสำคัญของมาตรการ แผนงานและโครงการ
3. การกำหนดเป้าหมายและการวัดผล


ที่มา http://www.decha.com/main/showTopic.php?id=8707

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น